ส่วนของบทความ

ส่วนของบทความ->สถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ->ระบบการทำงานของสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ [ ค้นหา ]

ระบบการทำงานของสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ
zoom
หัวข้อ ระบบการทำงานของสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ
รายละเอียด บทความอธิบายหลักการทำงานระบบเบื้องต้น
ส่งโดย Atten
     สถานีตรวจอากาศอัตโนมัตินี้ได้ออกแบบให้ทำงานเป็ นระบบโดยสามารถทำงานด้วยตัวเองโดย
อัตโนมัติ ใช้คนดูแลรักษาน้อย พึ่งพาพลังงานด้วยตนเองจากพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้พลังงานน้อยจึงสามารถ
นำไปติดตัง้ ได้ทุกสถานที่ เชื่อมโยงข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์หรือระบบคลื่นวิทยุเป็นหลัก เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูล
และแสดงค่าวัดผลแบบออนไลน์ได้ในทันที

     จากรูปประกอบ ได้แสดงผังการทำงานทั้งระบบในการตรวจวัดอากาศสู่ผู้ใช้งานทั่วไป โดยแบ่ง
ออกเป็นส่วน ๆ และอธิบายแต่ละส่วนได้ดังต่อไปนี้

     SENSOR เป็นส่วนตัวตรวจจับหรือหัววัดต่าง ๆ ประกอบไปด้วย หัววัดอุณหภูมิ ความชื้น สัมพัทธ์
ความเร็วลม ทิศทางลม ปริมาณน้ำ ฝน พลังงานแสงอาทิตย์ กล้องถ่ายภาพนิ่ง เป็นต้น ข้อมูลสัญญาณต่าง ๆ จะ
ถูกส่งเข้าสู่ดาต้าล็อกเกอร์ต่อไป

     DATA LOGER เป็นส่วนเครื่องทำงานหลัก ซึ่งเป็นหัวใจของระบบ โดยจะนำสัญญาณจากตัว
ตรวจจับ/หัววัด(SENSOR) มาแปลงค่าสัญญาณต่าง ๆ ให้เป็นข้อมูล แล้วทำการจัดเก็บเข้าสู่หน่วยความจำ(Micro SD Card)
หรือส่งผ่านข้อมูลออกสู่ระบบออนไลน์ด้วยเครือข่ายโทรศัพท์(GSM) หรือเครือข่ายวิทยุ(RF UHF) ต่อไป

     NETWORK เป็นส่วนเครือข่ายที่จะนำข้อมูลสู่ผู้ใช้ ซึ่งจะส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์(GSM) ผ่าน
บริการ GPRS ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อนำข้อมูลส่งเข้าสู่เซิร์ฟเวอร์ในการเก็บข้อมูลและ
แสดงผลต่อไป อีกทางหนึ่งส่งข้อมูลผ่านระบบวิทยุสื่อสารย่าน UHF ซึ่งจะมีสถานี IGATE(Internet Gate Way)
นำข้อมูลเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต หรือสถานีตรวจอื่น ๆ ก็สามารถทำหน้าที่เป็น IGATE ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะถูกใช้
งานในขณะที่สัญญาณโทรศัพท์(GSM) ในโครงข่ายสถานีนั้นล่มหรือใช้งานไม่ได้เป็นต้น

     SERVER เป็นส่วนพักข้อมูลให้บริการแค่ผู้ใช้โดยตรงหรือทางอ้อม ด้วยเหตุที่ตัวเครื่อง DATA LOGER
เป็นเครื่องทำงานเฉพาะด้าน การทำงานและการประมวลผล และความเร็วของเครือข่ายจึงไม่สูงมากนัก การ
ให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้โดยตรงนั้นจึงทำให้ผลการทำงานที่ล่าช้า ดังนั้น จึงต้องอาศัยส่งข้อมูลไปพักไว้ที่
คอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการ(SERVER) ซึ่งคอมพิวเตอร์บริการนี้จะมีประสิทธิภาพสูง วางอยู่บนเครือข่ายที่มี
ความเร็วสูง ดังนั้น จะให้บริการแก่ผู้ใช้ได้ในความเร็วสูง รองรับผู้ใช้ได้ในปริมาณมาก อีกทั้ง สามารถทำหน้าที่
เป็นฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ข้อมูลย้อนหลังได้ และยังคงทำหน้าที่เป็นตัวให้บริการข้อมูล แก่
เซิร์ฟเวอร์รายอื่นในการแสดงผลหรือใช้งานกับผู้ใช้ในวงกว้างออกไปได้อีกด้วย

     END USER เป็นส่วนผู้ใช้งานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น PDA TABLET PC ฯลฯ ที่เชื่อมต่อสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
ได้ ก็สามารถเปิดเว็บบราวเซอร์ทำการแสดงผลตรวจวัด แจ้งเหตุ ดาวน์โหลดข้อมูลย้อนหลัง ฯลฯ ได้ทันที ใน
ส่วน SMS และ RADIO เป็นส่วนที่รับส่งข้อมูลกับ DATA LOGER โดยตรง ซึ่งมักถูกเป็นการแสดงผลชั่วคราว
หรือใช้ควบคุมระบบชั่วคราว สำหรับผู้ควบคุมดูแลเท่านัน้
ประโยชน์สูงสุดของสถานีตรวจวัดอากาศนี้เป็นการตรวจวัดที่ละเอียดเก็บข้อมูลทุก ๆ 5นาที(มาตรฐาน
อุตุนิยมฯ ทุก 3 ชั่วโมง) ดังนั้น นักวิชาการในแขนงต่าง ๆ จะนำข้อมูล ณ สถานีที่ตั้งนั้น ไปวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้
ประโยชน์อื่น ๆ อีกมากเช่น การนำข้อมูลไปวิเคราะห์ประมวลผลเชิงตัวเลขเพื่อการเตือนภัยพิบัติล่วงหน้า การนำ
ข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อการเกษตรกรรม การนำข้อมูลไปอ้างอิงเพื่อประกาศภัยหนาวหรือภัยแล้ง การนำข้อมูล
แสดงต่อสาธารณะชนเพื่อการท่องเทียว เป็นต้น
โหวต โหวต: 3 - เฉลี่ย: 4.67

เพิ่มคำติชม ให้คะแนน
แนะนำติชม

สถิติ
นั้นมี 17 บทวิจารณ์ในฐานข้อมูล
ชมมากสุด: แปลงหน่วย
คะแนนมากสุด: แปลงหน่วย

จำนวนผู้ใช้ทั้งหมดที่ดูบทความในขณะนี้: 1 (0 สมาชิกที่ลงทะเบียน 1 แขก และ 0 สมาชิกที่ไม่ออกนาม)
สมาชิกที่มองเห็นได้: 0


 
 
สนับสนุนโดย
มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยากสภากาชาดไทย บริษัท นครไทยเน็ตเวิร์ค จำกัด DTAC Advance Info Service กรมอุตุนิยมวิทยา นักวิทยุสมัครเล่น -->
Copyright ©2008 NakhonThai Network Co.,Ltd. All rights reserved.